กองทัพภาคที่ ๓ ประกอบพิธีสวนสนามถวายสัตย์ปฎิญาณของทหาร – ตำรวจ เนื่องใน พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๓ และวันกองทัพไทย

กองทัพภาคที่ ๓ ประกอบพิธีสวนสนามถวายสัตย์ปฎิญาณของทหาร – ตำรวจ เนื่องใน พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๓ และวันกองทัพไทย

 

 


กองทัพภาคที่ ๓ ประกอบพิธีสวนสนามถวายสัตย์ปฎิญาณของทหาร – ตำรวจ เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๓ และวันกองทัพไทย ในวันเสาร์ที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๖๓ โดยมี พลตรี จิรเดช กมลเพ็ชร เป็นประธานในพิธี มีกำหนดการดังนี้
– ๐๗.๓๐ น. พิธีถวายสักการะและบวงสรวง พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเอกาทศรถ และพระรูปพระสุพรรณกัลยา กองบัญชาการกองทัพภาคที่ ๓ ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
– ๐๙.๐๐ น. พลตรี จิรเดช กมลเพ็ชร รองแม่ทัพภาคที่ ๓ เป็นประธานพิธีสงฆ์ ณ ศาลาทรงพล ลานอเนกประสงค์ กองทัพภาคที่ ๓ ค่ายสมเด็จพระเอกาทศรถ (บชร.๓) อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก


ลำดับพิธีสวนสนามถวายสัตย์ปฎิญาณของทหาร – ตำรวจ เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพุทธศักราช ๒๕๖๓ และวันกองทัพไทย ณ ลานอเนกประสงค์ กองทัพภาคที่ ๓ค่ายสมเด็จพระเอกาทศรถ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก มีกำหนดการดังนี้
– ๑๔.๐๐ น. ชุดที่ ๑ ชุดการแสดง การจัดและภารกิจด้านการบรรเทาสาธารณภัย จัดจากกองพลพัฒนาที่ ๓
– ชุดที่ ๒ ชุดการแสดง การปฎิบัติการทางทหารหน่วยทหารขนาดเล็ก จัดจากกองพลทหารราบ
ที่ ๔
– ชุดที่ ๓ ชุดการแสดงกายบริหารประกอบดนตรี จัดจากหน่วยฝึกทหารใหม่ กองบัญชาการ-
ช่ายรบที่ ๓
-ชุดที่ ๔ ชุดการแสดง การรำมังคละ จัดจากนักศึกษาวิชาทหาร มณฑลทหารบกที่ ๓๙

-๑๕.๕๐ น. พลตรี จิรเดช กมลเพ็ชร รองแม่ทัพภาคที่ ๓ ประธานในพิธีถึงบริเวณพิธี ประธานถวายความเคารพพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
-หมู่เชิญธงชัยเฉลิมพลเข้าประจำหน้าแท่น ประธานในพิธีฯ พร้อมกำลังพลนำกล่าวคำปฎิญาณ
ตนตาม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ณ ศูนย์การทหารม้า จังหวัดสระบุรี ผ่านสัญญาณการถ่ายทอดและขับร้องเพลงสดุดีจอมราชา
-พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ ทรงมีพระบรมราโชวาท ผ่านสัญญาณการถ่ายทอดสดจากศูนย์การทหารม้า
-เริ่มพิธีสวนสนามผ่านพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
กำลังพลที่สวนสนามในวันนี้จัดจากหน่วยทหารในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลกโดยมีหน่วยทหารจากค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ,ค่ายสมเด็จพระเอกาทศรถ,ค่ายสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ , กองบิน 46 จำนวน ๑๒ กองพัน ยอดข้าราชการทหารบก ทหารอากศ บรรจุใหม่เข้ารับปฎิญาณตน จำนวน …………. นาย
ประวัติวันกองทัพไทย


การกำหนดวันกองทัพไทยและวันกองทัพบกนับตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๒ รัฐบาลในสมัยจอมพล สฤษดิ์
ธนะรัชต์ ได้กำหนดให้วันที่ ๘ เมษายน ซึ่งเป็นวันระลึกถึงวันคล้ายวันสถาปนากระทรวงกลาโหมและถือเป็นวันที่มีการปรับปรุงการทหารจากการจัดอัตรากำลังแบบโบราณมาเป็นการจัดอัตรากำลังแบบปัจจุบันเป็นวันกองทัพไทย
เมื่อ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการ-
กระทรวงกลาโหม ใน พ.ศ.๒๕๒๓ ได้ดำริว่า วันกองทัพไทยควรเป็นวันที่มีความสำคัญและมีความหมายยิ่งสำหรับทหารทั้งสามเหล่าทัพ พึงระลึกถึงด้วยความภาคภูมิใจ ปลุกใจให้เกิดความรักและหวงแหนชาติบ้านเมืองและพร้อมที่สละชีวิตและเลือดเนื้อเป็นชาติพลี ตลอดจนส่งเสริมความสามัคคีในหมู่ทหาร ทั้งเป็นที่ชื่นชมยินดีของปวงชนชาวไทยอีกด้วย คณะรัฐมนตรีจึงมีมติกำหนดให้ วันที่ ๒๕ มกราคม ซึ่งตรงกับวันกระทำยุทธหัตถีของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชของทุกปีเป็นวันกองทัพไทย ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๒๔


ในส่วนของกองทัพบก เดิมกำหนดให้วันที่ ๒๘ กรกฎาคม ซึ่งเป็นวันที่กองทัพไทยฉลองชัยชนะ
กรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศสโดยกระทำพิธีสวนสนามรับมอบดินแดนในอินโดจีนที่ จังหวัดพระตะบอง เป็นวันกองทัพบก ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๘๕ ต่อมาใน พ.ศ.๒๔๙๔ กองทัพบกได้เสนอขอวันที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงกระทำ ยุทธหัตถีชนะสมเด็จพระมหาอุปราชาแห่งกรุงหงสาวดีเป็นวันกองทัพบก ซึ่งผลคำนวณในขณะนั้นตรงกับวันที่ ๒๕ มกราคมพ.ศ.๒๑๓๕ เนื่องจากพิจารณาเห็นว่า การกระทำยุทธหัตถีครั้งนั้น นับเป็นการยุทธ์ทางบกครั้งยิ่งใหญ่ ชัยชนะของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้รับการกล่าวขวัญและสรรเสริญโดยทั่วไป วันดังกล่าวจึงเป็นวันที่สำคัญยิ่งของปวงชนชาวไทย เป็นวันที่คนไทยพึงระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณด้วยความภาคภูมิใจ สำนักนายกรัฐมนตรีจึงประกาศให้วันที่ ๒๕ มกราคม ของทุกปี เป็น วันกองทัพบก


ต่อมา เมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๘ คณะรัฐมนตรีได้ลงมติอนุมัติให้วันที่ ๒๕ เมษายน ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสวรรคตสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และวันที่ ๑๘ มกราคม ของทุกปีเป็นวันยุทธหัตถี ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามหลักฐานที่ราชบัณฑิตยสถาน และคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติเสนอ ซึ่งเป็นผลทำให้ประวัติศาสตร์ของวันยุทธหัตถีเปลี่ยนไป ดังนั้น เพื่อดำรงความมุ่งหมายเดิมในการกำหนดวันที่ระลึกกองทัพไทย และกองทัพบก รวมทั้ง เพื่อให้สอดคล้องกับมติของคณะรัฐมนตรีดังกล่าวกระทรวงกลาโหมและวันกองทัพบก จากเดิมวันที่ ๒๕ มกราคม เป็นวันที่ ๑๘ มกราคม ของทุกปีโดยเริ่มใช้ครั้งแรกตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๐ เป็นต้นไป


ประวัติธงชัยเฉลิมพล
ถือได้ว่าเป็นยอดสำคัญสำหรับทหารทั้งปวง เป็นหมายแห่งชัยชนะรวมใจกล้าหาญก่อนการออกศึก ซึ่งธงชัยเฉลิมพลนั้น เดิมเรียกว่า “ธงประจำทัพ” ซึ่งมีความหมายอย่างยิ่งสำหรับทหารทุกนายเพราะถือว่าเป็นตัวแทน จอมทัพ และเป็นมิ่งขวัญแก่ทหารทั้งปวงเมื่อธงนี้โบกสะบัดอยู่ ณ ที่ใดย่อมหมายความว่า พระเจ้าอยู่หัวฯ ประทับอยู่ ณ ที่นั้น จำเป็นที่ทหารทั้งหลายจะต้องติดตามธงนั้นจนถึงที่สุด และต้องคุ้มครองป้องกันธงชัยเฉลิมพลไว้ด้วยชีวิตตนเอง เพราะถ้าธงตกถึงเงื้อมมือศัตรูย่อมหมายถึงการสูญสิ้นซึ่งจอมจตุรงค์ ธงชัยเฉลิมพลจะมีลักษณะคล้ายธงชาติ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เป็นผู้ทรงประกอบพระราชพิธีด้วยพระองค์เอง ดังนั้น การเชิญธงชัยเฉลิมพลออกจากหน่วยและเข้าร่วมพิธีการใดก็ตามจะต้องกระทำอย่างสมเกียรติมีขั้นตอนที่สมบูรณ์ที่สุด และผู้ถือธงจะต้องได้รับการเลือกสรรอย่างดี หากเปรียบในสมัยโบราณผู้ที่จะต้องนำธงชัยเฉลิมพลออกร่วมทำการรบ พลประจำธงจะต้องเป็นผู้ที่แข็งแรง มีความสามารถ และต้องรักษาธงชัยเฉลิมพลไว้ได้ ด้วยชีวิต

ปรีชา นุตจรัส รายงานข่าว

Related posts