กลไกสภาสันติสุข ถ้าใช้ให้เป็นประโยชน์ อย่าว่าแต่”โควิด 19 ที่ต้องพ่าย แม้แต่”ไฟใต้ ก็ต้องดับ

หมายเหตุ ปลายด้ามขวาน 13

————————————–

กลไกสภาสันติสุข ถ้าใช้ให้เป็นประโยชน์ อย่าว่าแต่”โควิด 19 ที่ต้องพ่าย แม้แต่”ไฟใต้ ก็ต้องดับ

—————————————————————-

สถานการณ์การแพร่ระบาดของ”โควิด19”ในพื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ปัตตานี,ยะลา,นราธิวาส,และสงขลา ในวันนี้ ตัวเลขเริ่มที่จะนิ่งแล้ว ทั้งยอดของ ผู้ตาย ผู้ติดเชื้อเก่า และไม่มีผู้ติดเชื้อใหม่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นไปเช่นเดียวกับตัวเลขโดยรวมของประเทศ ที่จำนวนผู้ติดเชื้อใหม่เริ่มต่ำกว่า 50 คนต่อวัน ซึ่งเป็นข่าวที่ทำให้คนทั้งประเทศ น่าจะคลายความวิตกกังวลลงไปได้บ้าง

โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมีคนที่ถูกมองว่าเป็น”พาหะ” ของ”โควิด 19,มาตั้งแต่ต้น คือกลุ่มของผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนาหรือการ”ออกดาวะห์” ซึ่งเป็น กิจกรรม ในการเผยแพร่ศาสนาของผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามบางกลุ่มบางพวก

ซึ่งขณะนี้ จากการทำทุกวิถีทางของ ผู้ว่าราชการจังหวัด สาธารณสุขจังหวัด ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ และ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ซึ่งทั้ง 2 หน่วยงานหลัง เปรียบเหมือนหน่วยงานกลาง ในการคอย”บูรณาการ” หรือ”เติมเต็ม” ในส่วนที่เป็น”ช่องว่าง” ของ ผู้ว่าราชการจังหวัด และ หน่วยงาน สาธารณสุข จนทำให้การจัดระเบียบสังคม ค่อนข้างประสพความสำเร็จ หลังจากที่ใช้เวลาระยะหนึ่งในการ สร้างความเข้าใจ กับผู้นำศาสนาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะ ปัตตานี, ยะลา และ นราธิวาส

โดยเฉพาะ ผู้ว่าราชการจังหวัด ปัตตานี นายไกรศร วิศิษฐ์วงศ์ ถึงกับต้อง”งัดยาแรง”ด้วยการประกาศ”เอาผิด”กับ ผู้นำท้องที่ ที่ละเลยและขาดความ”ใส่ใจ” ในการให้ความร่วมมือ ของการป้องกันการแพร่ระบาดของ “โควืด 19” ในพื้นที่รับผิดชอบ

ซึ่งเชื่อว่า ในวันศุกร์นี้ มัสยิด ที่ยังไม่เชื่อฟังไม่ให้ความร่วมมือในการละหมาดวันศุกร์ คงจะให้ความร่วมมือทั้งหมด หรือหากจะมีอยู่บ้างในพื้นที่ซึ่ง ปลอดภัย ไม่มีทั้งผู้ติดเชื้อ และไม่มีกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ดังกล่าว แต่ถ้าจะให้ดีทุกมัสยิด ต้องให้ความร่วมมือด้วยการหยุดละหมาดในวันศุกร์ เพื่อให้เห็นถึงตวามเป็น”เอกภาพ” ของผู้นำศาสนาในพื้นที่

สิ่งที่น่าเป็นห่วง หลังการประกาศ “ล็อกดาวน์” ของผู้ว่าราชการจังหวัด และการประกาศใช้ พรก.ฉุกเฉิน” ของนายกรัฐมนตรี เพื่อหยุดการแพร่ระบาดของ”โควิด 19” คือเรื่องของปัญหาที่แทรกซ้อน นั่นคือ ปัญหา”ปากท้อง” ของประชาชนในพื้นที่ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผู้ที่”หาเช้ากินค่ำ” ที่กำลังได้รับความเดือดร้อน จากการ”หยุดงาน” และการ”ทำงานไม่ได้” เพราะเรื่องของ พรก.ฉุกเฉิน

นิยามคำว่า”หาเช้ากินค่ำ” หลายคนอาจจะพูดจนติดปาก จนไม่เข้าใจความหมายที่แท้จริง ซึ่งคนที่เข้าใจใน”นิยาม” ของคำว่า”หาเช้ากินค่ำ” ก็คือกลุ่มคนยากจน ที่หากไม่ได้ออกไปทำงานในตอนเช้า ย่อมหมายถึงว่าตอนค่ำ ครอบครัวจะไม่มีกิน ซึ่งเราจะเห็นว่า คนที่”หาเช้ากินค่ำ” หลังจากรับค่าจ้างแล้ว ก็จะซื้อ สิ่งขอ ง ข้าวสาร อาหาร กลับบ้าน เพื่อเป็นอาหารมื้อค่ำของครอบครัว

กลุ่มผู้ที่ต้อง กรีดยาง ซึ่งในหลายจังหวัด เช่น สงขลา สตูล พัทลุง ไม่ได้กรีดยางตอนเช้า แต่ลุกขึ้นกรีดยางตอนเที่ยงคือ หรือ ตี 1 เป็นต้นไป และกลุ่มประมงพื้นที่ ซึ่งต้องออกเรือตอนค่ำ และกลับเข้าฝั่งตอนเช้า คือกลุ่มผู้ที่ได้รับความลำบากจากการประกาศใช้ พรก.ฉุกเฉิน ในครั้งนี้

เช่นเดียวกับกลุ่มแรงงาน ในโรงงาน พ่อค้า แม่ค้า ในตลาดทั่วไป ที่ได้รับความเดือนร้อน จากการ”ล็อกดาวน์” เพื่อให้อยู่บ้าน ป้องกันการระบาดของเชื่อ”โควิด 19” ซึ่งการปิดเมือง การใช้ พรก.ฉุกเฉิน เป็นเรื่องจำเป็น แต่ถ้าสถานการณ์ดีขึ้น หรือ ส่วนไหนที่ดีขึ้น ต้องยกเว้นโดยเร็ว เพื่อให้ ประชาชน สามารถ ทำมาหากินได้ เพื่อ ผ่อนคลายความเดือดร้อน ของผู้ที่อยู่ในกลุ่มคน”หาเช้ากินค่ำ” นั่นเอง

โดยข้อเท็จจริง ประเทศเรา ไม่ได้อยู่ในสภาพของความ”เลวร้าย” จากการระบาดของ”โควิด 19” เพราะยังมีอีกหลายพื้นที่ ซึ่งไม่ได้มีการ”ระบาด”ของ”โควิด 19” ดังนั้น จึงควรจะมีการพิจารณาเป็นพื้นที่ๆ ไป ไม่ใช้ทำแบบ”เหวี่ยงแห” จนสร้างความ ลำบาก ให้กับผู้คนทั้งประเทศ

และอีกอย่าง กลุ่มพื้นที่ ที่มีการระบาด ที่มาจาก ต้นตอเดียวกัน สาเหตุที่คล้ายกันอย่าง ใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมาจากกลุ่มนักกิจกรรมทางศาสนา หรือในพื้นที่ฝั่งอันดามัน ภูเก็ต พังงา กระบี่ ที่ ต้นเหตุมาจาก นักท่องเที่ยว สถานบันเทิง ก็น่าจะมีการ”พูดคุย” มีการประชุมกลุ่มจังหวัด เพื่อการจัดการที่เหมือนกัน ส่วนกลุ่มที่เป็นพื้นที่ ปลอดภัย ก็บริหารจัดการ”ขีดวง” เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรคให้ได้ผลยิ่งขึ้น ซึ่งน่าจะดีกว่า ต่างคนต่างทำ หรือ ขนาดที่ ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา ต้องใช้วิธีการเขียนจดหมายถึง ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เพื่อขอร้องอย่าให้คนภูเก็ตเดินทางมายังจังหวัดพังงา เป็นต้น

ซึ่งจากการติดตามดูการ บริหารจัดการ พื้นที่เพื่อ ป้องกันการแพรัระบาดของ”โควิด 19” จะพบว่า ถ้า”ท้องถิ่น” หรือ”ชุมชน”เข้มแข็ง ก็จะมีการบริหารจัดการของ”ท้องถิ่น” เช่นที่ ต.คีรีวงค์” จ.นครศรีธรรมราช ท้องถิ่น จะลุกขึ้นมา ปกป้องชุมชนของตนเอง จนประสพความสำเร็จ เพราะความร่วมมือร่วมใจของชุมชน

ซึ่งในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็มีตัวอย่างที่ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ ศอ.บต. ใช้ กลไกของสภาสีนติสุขตำบล เพื่อเป็นเครื่องมือ ในการจัดการกับพื้นที่ในระดับ หมู่บ้าน ตำบล เพื่อการสร้างความเข้าใจในหมู่ประชาชน ในการปกป้องตนเอง และครอบครัว ในการให้รู้ว่า ต้องใช้หน้ากากเพื่อการป้องกัน และให้รู้ว่าการคลุมหน้าแบบธรรมดาของ มุสลีมะ นั้นไม่สามารถป้องกันการแพร่ระบาดได้ ซึ่งหากใช้กลไกของ สภาสันติสุข ในการเข้ามามีส่วนร่วม จะสามารถ ควบคุม และป้องกันการระบาดของ”โควิด 19” อย่างได้ผล

ปัจจุบันสภาสันติสุขตำบล ศอ.บต. และ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ได้กำหนดโครงสร้างอำนาจหน้าที่ การปฏิบัติงาน ซึ่งครอบคลุม ทั้งด้านความมานคง การรักษาความปลอดภัย หรือความมั่นคงทางกายภาพ และความม่านคงทางสังคม นั้นคือเรื่องของ สุขภาพ การช่วยเหลือกลุ่มคนเปราะบาง หมายถึง ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง และเด็ก กำพร้า ฯลฯ การเสริมสร้างโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ( สถานอนามัยเดิม ) เพื่อสนับสนุนแผนงานของตำบล ซึ่งในส่วนนี้ เกี่ยวข้องกับการป้องกัน การแพร่ระบาดของโรคภัยไข้เจ็บ ซึ่งขณะนี้คือเรื่องของ “โควิด 19. นั่นเอง

ซึ่ง หากให้อำนาจ กลไกสภาสันติสุขตำบล ในการดูแล แก้ปัญหาให้ชุมชน ก็จะเข้าใจสภาพของชุมชน ที่รู้ผ่อนหนัก ผ่อนเบา เพื่อให้คนในพื้นที่ สามารถ อยู่ได้โดยไม่เดือดร้อน สามารถทำมาหากินได้ ภายใต้ กติกา ที่ไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับคนอื่น โดยทุกอย่างอยู่บนหลักการของ ข้อเท็จจริง ไม่ใช่ยึดข้อกฎหมายอย่างเดียวเท่านั้น

พล.ร.ต. สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ ศอ.บต. กล่าวว่า วิกฤติ ของ”โควิด 19” ในครั้งนี้ ทำให้ได้เห็นถึง ประสิทธิภำของ สภาสันติสุขตำบล และหน่วยงานต่างในพื้นที่ ในระดับตำบล ระดับหมู่บ้าน เช่น บัณฑิตอาสา อาสาสมัครสาธารณสุข หรือ อสม. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อบต. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ซึ่งอยูภายใต้ สภาสันติสุขตำบล ที่มีการร่วมมือกันอย่างเต็มความสามารถ จนทำให้สถานการณ์โดยรวมดีขึ้นอย่างรวดเร็ว

แน่นอน โดยข้อเท็จจริง ท้องถิ่น ท้องที่ คือกำลังสำคัญกับทุก”มิติ” ไม่ว่าเป็นเรื่องของความมั่นคงของประเทศชาติ หรือความมั่นคงของชีวิตของคนทุกคน ถ้าท้องที่ ท้องถิ่น เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน อย่าว่าแต่”โควิด 19” ที่ ทำอะไรคนในพื้นที่ไม่ได้ แม้แต่”ไฟใต้” ที่โชนแสงมา 16 ปี ถ้า สามารถทพให้ ผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น เป็นคนของ”ราชการ” จริงๆ เมื่อไหร่ ขบวนการ บีอาร์เอ็น เป็นได้แค่”ไม่จิ้มฟัน”ดีๆ นี้เอง

Related posts