อว.- บพท. ร่วม 3 มหาวิทยาลัย 3 จชต.ระดมสมองรับมือภัยพิบัติ
อว – บพท. สานพลังเครือข่ายมหาวิทยาลัยจังหวัดชายแดนใต้(จชต.) และภาคีองค์กร
ปกครองส่วนภูมิภาค ภาคีองค์ปกครองส่วนท้องถิ่น ตลอดจนภาคีภาคประชาสังคมในพื้นที่
ร่วมกันสรุปบทเรียนจากอุทกภัยร้ายแรงที่เกิดขึ้นเมื่อเดือนธ.ค.2566 เพื่อออกแบบกลไก
มาตรการรับมือภัยพิบัติแบบเบ็ดเสร็จและยั่งยืนร่วมกัน ตามแนวนโยบาย
ดร.กิตติ สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ ( บพท.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่าผลกระทบจากอุทกภัยครั้งร้ายแรงที่สุด
ในรอบ 40 ปี ซึ่งเกิดขึ้นในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ ทั้งนราธิวาส ยะลา และปัตตานี เมื่อเดือนธันวาคมปีที่ผ่านมา
มีพื้นที่ประสบภัย 806 หมู่บ้าน 142 ตำบล 25 อำเภอ
มีบ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหายกว่า 9 หมื่น
ครัวเรือน โดยเฉพาะอย่างยิ่งครัวเรือนยากจนและครัวเรือนเปราะบาง ได้รับผลกระทบรุนแรงหนักที่สุด เป็นแรง
กระตุ้นให้ บพท. ต่อยอดความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ได้แก่ มหาวิทยาลัยนราธิวาส
ราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ในการศึกษาค้นคว้า
หาแนวทางฟื้นฟูชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนที่ประสบภัย และมาตรการที่เหมาะสมกับบริบทพื้นที่ในการรับมือ
ภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตแบบเบ็ดเสร็จและยั่งยืน เพื่อให้ความเสียหายอยู่ในวงจำกัด ซึ่งเป็นไปตาม
แนวนโยบายของนางสาวศุภมาส อิศรภักดี รมว.อว.ที่มุ่งผลักดันให้มหาวิทยาลัยมีบทบาทในการนำความรู้ไป
ช่วยเหลือสังคม ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ
“ความร่วมมือกันของ บพท. กับมหาวิทยาลัยในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ เพื่อเผชิญภัยพิบัติ ด้วยวิชา
ความรู้จากงานวิจัย และพลังเครือข่ายภาคีในพื้นที่ ได้เริ่มมาตั้งแต่เกิดอุทกภัยในพื้นที่ ด้วยการประยุกต์งานวิจัย
นวัตกรรมไปช่วยเหลือชาวบ้าน ต่อเนื่องมาจนถึงการใช้งานนวัตกรรมช่วยเหลือฟื้นฟูครัวเรือนยากจน ครัวเรือน
เปราะบาง และในวันนี้(22 ม.ค.) เป็นการยกระดับความร่วมมือให้สูงขึ้นและต่อยอดความร่วมมือให้มีขอบเขตกว้าง
ขึ้น ด้วยการจัดเวทีระดมความคิดเห็นร่วมกันที่มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ จังหวัดนราธิวาส โดยนักวิจัย
ตัวแทนภาคีเครือข่ายภาคประชาสังคม องค์กรปกครองส่วนภูมิภาค องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้ง
นักการเมืองในพื้นที่ มาร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และความคิดเห็นร่วมกัน เพื่อนำไปสู่ชุดความรู้ใหม่ ตลอดจน
ชุดกลไกมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติที่เป็นรูปธรรม”
ผู้อำนวยการ บพท. กล่าวด้วยว่าความคาดหวังจากวงเสวนาระดมความคิดเห็นดังกล่าว คือแนวทางการ
ฟื้นฟูเยียวยาประชาชนที่ประสบภัยพิบัติ การพัฒนาชุดข้อมูลพื้นที่เสี่ยงภัยเชื่อมโยงกับระบบข้อมูลครัวเรือน
ยากจน การพัฒนาเครือข่ายอาสาสมัครเผชิญภัยพิบัติ การสร้างเครือข่ายความร่วมมือมหาวิทยาลัยเชิงพื้นที่ในการ
จัดการภัยพิบัติ ทั้งนี้ก็เพื่อขยายผลความรู้จากงานวิจัย ไปสู่การแก้ปัญหาภัยพิบัติให้ได้อย่างรวดเร็ว เบ็ดเสร็จและ
ยั่งยืน
———————————————————-