ศอ.บต. – บัณฑิตอาสา มอ. ถอดบทเรียน 6 ชุมชนร่วม โครงการรับมือและฟื้นฟูผลกระทบเนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19

ศอ.บต. – บัณฑิตอาสา มอ. ถอดบทเรียน 6 ชุมชนร่วม โครงการรับมือและฟื้นฟูผลกระทบเนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19


ห้องประชุมพญาตานี 1 โรงแรมเซาท์เทิร์นวิว จังหวัดปัตตานี นายแพทย์สมหมาย บุญเกลี้ยง ผู้ช่วยเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นประธานในเวทีนําเสนอการถอดบทเรียนสู่ชุมชน ภายใต้โครงการรับมือและฟื้นฟูผลกระทบเนื่องจากการแพร่ระบาดของ Covid 19 ในสามจังหวัดชายแดนใต้ของประเทศไทย สืบเรื่องจาก ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 ที่อุบัติ ขึ้นและใช้เวลายาวนาน ทำให้เราเห็นบรรยากาศการ ออกมาช่วยเหลือกันทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาค ประชาสังคม เพื่อให้ปัญหาเหล่านี้คลี่คลาย


โดยมี ว่าที่ร้อยตรีอิสมาแอ มาหะ ผู้จัดการโครงการฯ สมาคมศิษย์เก่าบัณฑิตอาสา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และ หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง รวมทั้ง ผู้เข้าร่วมโครงการจาก 6 ตำบล 5 อำเภอใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้เข้าร่วมกิจกรรม จากนั้น ผศ.ดร.บดินทร์ แวลาเตะ รองอธิการบดีฝ่าย พัฒนานักศึกษา วิทยาเขตปัตตานี ได้เดินทางเป็นประธานในพิธีปิด


ว่าที่ร้อยตรีอิสมาแอ มาหะ กล่าวว่า สมาคมศิษย์เก่าบัณฑิตอาสา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สศ.มอ.) ร่วมกับมูลนิธิช่วยเหลือเด็ก Save the Children และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ จากสหภาพยุโรป (EU) เพื่อด าเนินโครงการรับมือและฟื้นฟูผลกระทบเนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในสามจังหวัดชายแดนใต้ของประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากโควิด-19 ใน กรณีฉุกเฉินอย่างเร่งด่วน และเพื่อเตรียมความพร้อมชุมชนให้มีความสามารถรับมือกับภัยพิบัติการแพร่ ระบาดของโควิด-19 ในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทางสมาคมศิษย์เก่าบัณฑิตอาสาฯ ได้ดำเนินงานโครงการดังกล่าวเสร็จสิ้นแล้ว โดยมีพื้นที่ 6 ตำบล 5อำเภอใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

คือ ชุมชนยะกัง 2 ตำบลบางนาค อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส ชุมชนบ้านกรือซอ ตำบลแว้ง อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส ชุมชนบ้านแยะ ตำบลจอเบาะ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส ชุมชนบ้านโสร่ง ตำบลเขาตูม อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี ชุมชนบ้านบูเก๊ะ ต าบลบาโงยซิแน อำเภอยะหา จังหวัดยะลา ชุมชนบ้านศาลาสอง ตำบลสะดาวา อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี มีระยะเวลาดำเนินงาน 22 เดือน เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2565 ภายใต้โครงการมีการให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด 19 กรณีฉุกเฉินเร่งด่วน (Relief Kits) ซึ่งเป็นผู้เปราะบางที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ระบาดของโควิด-19 จำนวน 720 ครัวเรือน ครัวเรือนละ 1,000 บาท รวมเป็นมูลค่า 720,000 บาท ครอบคลุมสมาชิกในครัวเรือนทั้งหมดที่รับประโยชน์ จำนวน 3,396 คน


ทั้งนี้ยังมีกระบวนการเตรียมความพร้อมชุมชนให้มีความสามารถรับมือกับภัยพิบัติและการแพร่ระบาด ของโควิด-19 ในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการพัฒนาศักยภาพแกนนาชุมในมิติต่างๆ เช่น การทำงานเป็นทีม การรวบรวบข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ในการแก้ปัญหา ร่วม แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับพื้นที่ต้นแบบด้านการจัดการภัยพิบัติ การทำแผนรับมือและฟื้นฟู และทักษะการบริหารจัดการโครงการ พร้อมทั้งพัฒนากระบวนการจัดทำแผนรับมือรับมือและฟื้นฟูภัยพิบัติ ผ่านการศึกษาบริบทของชุมชน ถอดประสบการณ์ชุมชนด้านการรับมือโควิด 19 การทำปฏิทินอาชีพ วัฒนธรรมและนันทนาการที่มีความเสี่ยงต่อการระบาดของโควิด 19 การจัดทำข้อมูลผู้เปราะบางและพื้นที่เสี่ยงผ่านระบบ GIS เพื่อนำมาวิเคราะห์ความเสี่ยงและช่องว่างด้านการรับมือและฟื้นฟูของทั้ง 6 พื้นที่
จากกระบวนทั้งหมดที่กล่าวมา นำมาสู่ กระบวนการจัดทำมาตรฐานการปฏิบัติการ Standard Operating Procedures (SOP) และการจัดทำแผนเผชิญเหตุในกรณีฉุกเฉิน Emergency Preparedness Plan (EPP) พร้อมทั้งสนับสนุนงบประมาณชุมชนละ 100,000 บาท เพื่อตอบสนองแผนภัยพิบัติชุมชน

Related posts