ศอ.บต. จัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพโต๊ะครู สถาบันปอเนาะ 5 จชต. ด้าน ‘อารีย์ วงศ์อารยะ’ หวังให้ ‘โต๊ะครู’ เป็นผู้นำความคิด พัฒนา และสร้างความเจริญรุ่งเรืองพื้นที่ชายแดนใต้

ศอ.บต. จัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพโต๊ะครู สถาบันปอเนาะ 5 จชต. ด้าน ‘อารีย์ วงศ์อารยะ’ หวังให้ ‘โต๊ะครู’ เป็นผู้นำความคิด พัฒนา และสร้างความเจริญรุ่งเรืองพื้นที่ชายแดนใต้

วันนี้ (29 ส.ค. 2566) ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพโต๊ะครู ผู้ช่วยโต๊ะครู ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปอเนาะสานใจฯ สู่การพัฒนา) ณ โรงแรมรอยัลฮิลล์ อ.ละงู จ.สตูล โดยมีนายอารีย์ วงศ์อารยะ รองประธานคณะกรรมการอำนวยการโครงการสานใจไทย สู่ใจใต้ เป็นประธานเปิดกิจกรรม มีพลเรือตรี สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการ ศอ.บต. กล่าวรายงานการจัดโครงการฯ และมีรองเลขาธิการ ศอ.บต. ผู้ช่วยเลขาธิการ ศอ.บต. ผู้แทนจังหวัด นายกสมาคมสถาบันศึกษาปอเนาะ จชต. สมาคมเยาวชนสานใจไทยฯ และโต๊ะครู ผู้ช่วยโต๊ะครู จากสถาบันปอเนาะในพื้นที่ 5 จังหวัดเข้าร่วม

พลเรือตรี สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการ ศอ.บต. กล่าวว่า ศอ.บต. จัดกิจกรรมปอเนาะฯ สานใจสู่การพัฒนา เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรในสถาบันศึกษาปอเนาะ สร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาชุมชนใน จชต. โดยร่วมกับเยาวชนที่ผ่านการเข้าร่วมโครงการสานใจไทยฯ ซึ่งในวันนี้ได้ยกสถานะเป็นสมาคมเยาวชนสานใจไทย สู่ใจใต้ กิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นจากการบูรณาการร่วมกันระหว่าง ศอ.บต. กระทรวงมหาดไทย กรมการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สมาคมสถาบันศึกษาปอเนาะ จชต. สมาคมเยาวชนสานไทย สู่ใจใต้ และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

ด้าน นายอารีย์ วงศ์อารยะ รองประธานคณะกรรมการอำนวยการโครงการสานใจไทย สู่ใจใต้ กล่าวว่า การจัดกิจกรรมที่รวมกลุ่มโต๊ะครู ผู้ช่วยโต๊ะ ผู้มีบทบาทสำคัญของประชาชนที่นับถือศาสนาอิสลาม ถือเป็นประวัติศาสตร์ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน การจัดกิจกรรมในวันนี้ เนื่องจากคณะกรรมการอำนวยการโครงการสานใจไทยฯ และศอ.บต. คำนึงอย่างยิ่ง ถึงความสำคัญของ ในการเป็นคนร่วมพัฒนาพื้นที่ สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในการพัฒนา เพื่อสร้างความเจริญรุ่งเรื่องให้เกิดขึ้นใน จชต. ข้าราชการไม่สามารถเข้าถึงและช่วยเหลือประชาชนได้เท่ากับโต๊ะครู และสถาบันปอเนาะ ซึ่งเป็นบุคคลที่ประชาชนเคารพและศรัทธา จึงต้องการยกฐานะโต๊ะครู ผู้ช่วยโต๊ะครูให้สูงขึ้น มีบทบาทในการพัฒนาทั้งเยาวชนในสถาบันปอเนาะ และพัฒนาประชาชนในละแวก เนื่องจากผู้ที่เข้าใจพื้นที่และบริบทสังคม จชต. มากที่สุดคือ โต๊ะครู เพราะเยาวชนในพื้นที่ต้องเข้าเรียนในสถาบันฯ นอกจากนี้ อิหม่ามและผู้นำศาสนา ก็จบสถาบันศึกษาปอเนาะก่อนไปศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย และศึกษาด้านศาสนาในต่างประเทศ

รองประธานคณะกรรมการอำนวยการโครงการสานใจไทยฯ กล่าวอีกว่า การดำเนินงานหลายเรื่องที่ส่วนราชการทำไม่สำเร็จ ไม่เข้าถึงประชาชน อาทิ การรณรงค์ สร้างความเข้าใจในการฉีดวัคซีนที่จำเป็น เป็นต้น ปรากฏว่า เมื่อข้าราชการพูดประชาชนต่อต้าน แต่หากโต๊ะครูพูด ประชาชนจะเชื่อฟัง ทั้งนี้สถาบันปอเนาะจะอยู่แบบเดิมไม่ได้ ขอให้ช่วยกันพัฒนาพื้นที่ให้เกิดความเจริญรุ่งเรือง ในส่วนของ มามา (ผู้ช่วยโต๊ะครูผู้หญิง) ขอความร่วมมือในการเป็นผู้นำสตรีในพื้นที่ เป็นผู้นำด้านการศึกษา อาชีพ และแนวความคิด ทั้งนี้ ขอความร่วมมือ โต๊ะครู ผู้ช่วยโต๊ะครู ทุกท่าน ให้เป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาพื้นที่ให้มีความเจริญรุ่งเรือง เพื่อเยาวชนที่เป็นบุตรหลานของเราทุกคน

 

 

Related posts